รู้เรื่องชั่ง ตวง ก่อนเข้าครัว
32,934 total views, 31 views today
วันนี้นี้เราจะมาสอนเทคนิคการชั่ง ตวงวัตถุดิบต่างๆ หลายๆคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องง่ายๆ แต่เราต้องใส่ใจในรายละเอียด เพราะเรื่องการตวงนั้น โดยเฉพาะพวกเบเกอรี่ที่ตวงผิดพลาดเพียงนิดเดียว อาจจะทำให้อาหารที่เราทำแย่ไปเลยได้
– METRIC หน่วยวัดคือ กรัม (gram), กิโลกรัม (kg), ลิตร (litre), มิลลิลิตร (ml), เมตร (metre)
– IMPERIAL หน่วยวัดคือ ปอนด์ (lb), ออนซ์ (oz), นิ้ว (inch), ไมล์ (mile)
– US หน่วยวัดจะใกล้เคียงกับ IMPERIAL ต่างกันนิดหน่อย เช่น ออนซ์ของ US จะไม่เท่ากับออนซ์ของ IMPERIAL หากเทียบกลับมาเป็น METRIC
นอกจากนั้นจะมีหน่วยตวงอื่นๆ เช่น ถ้วยตวง ช้อนตวงอีกต่างหาก เรามาดูกันว่าอันไหนใช้ยังไงบ้าง
ขั้นแรกเราต้องดูก่อนว่าของที่เราจะตวงเป็นของแห้ง (เช่นพวกแป้ง น้ำตาล) หรือของเหลว (น้ำ น้ำมัน)
การตวงของเหลว เราจะวางแก้วไว้บนพื้นผิวที่เรียบและได้ระดับ เพื่อการตวงแม่นยำ
ส่วนการตวงของแห้ง เราจะใช้การตักวัตถุดิบให้พูนๆถ้วย แต่ไม่กดอัดวัตถุดิบลงไป แล้วใช้สปาตูล่าปาดให้หน้าเรียบ จึงจะถือเป็น 1 ถ้วยเต็ม
1 ถ้วยตวงตามระบบ METRIC จะมีปริมาตร 250 มิลลิลิตร (ระบบ IMPERIAL และ US จะบอกว่า 240 มิลลิลิตร จึงควรเช็คสูตรที่มาว่ามาจะระบบไหน โดยดูจากหน่วยอื่นๆในสูตรก็ได้ เช่น ใช้หน่วยปอนด์หรือกรัม)
การใช้ช้อนตวงก็เหมือนกัน ถ้าเป็นของแห้งก็ปาดให้หน้าเรียบ ถ้าของเหลวก็ถือให้ได้ระดับเสมอขอบช้อน
ทุกคนน่าจะเคยได้ยินช้อนโต๊ะกับช้อนชากัน ช้อนโต๊ะกับช้อนชา ปกติจะไว้ใช้ตวงของที่ใช้นิดๆหน่อยๆ เช่น เกลือ ยีสต์ กลิ่นวานิลลา
ช้อนโต๊ะเท่ากับ 15 มิลลิลิตร ช้อนชาเท่ากับ 5 มิลลิลิตร เพราะฉะนั้น 3 ช้อนชาก็จะเท่ากับ 1 ช้อนโต๊ะ
เราอยากแนะนำในการใช้หน่วยเป็นน้ำหนัก หรือกรัมนั่นเอง เพราะจะช่วยให้ชั่งตวงได้แม่นยำที่สุด นอกจากนั้นยังสามารถชั่งได้หลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นกรัม ออนซ์
เครื่องชั่งดิจิตอลนั่นยังมีฟังค์ชั่น TARE ที่ให้เราวางภาชนะเปล่าๆลงก่อน พอกด TARE น้ำหนักก็จะถูกเซ็ตเป็นศูนย์ ทำให้เวลาชั่ง เราก็จะได้แต่น้ำหนักของของที่ใส่ลงไป สะดวกสบายและยังแม่นยำอีกด้วย
เราขอแนะนำเครื่องชั่งดิจิตอล TANITA แบรนด์จากประเทศญี่ปุ่น ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2487 หรือกว่า 74 ปีแล้ว